ข้อบังคับ
มูลนิธิแก้วล้านนา
หมวดที่ 1
ชื่อเครื่องหมายและสำนักงานที่ตั้ง
ข้อ 1. มูลนิธินี้ชื่อว่า “มูลนิธิแก้วล้านนา”
ข้อ 2. เครื่องหมายของมูลนิธินี้คือ รูปวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12.5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นชื่อ “มูลนิธิลูกแก้วล้านนา” ด้านล่างมีขอบหนา 1 เส้น และมีเส้นขอบในบาง ๆ 2 เส้น ในวงกลมด้านบนเป็นตัวหนังสือข้อความ “เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กไทย” ส่วนกลางของวงกลมเป็นรูปเด็ก 3 คน ยืนเรียงกัน
ข้อ 3. สำนักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่ เลขที่ 63/3 หมู่ 4 ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50180 โทร. 053-211877 โทรสาร. 053-220802
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
ข้อ 4. วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้คือ
4.1 เพื่อการบริการด้านสวัสดิการ การดำเนินงานพัฒนา และสงเคราะห์เด็กอ่อน ในอุปการะของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนเชียงใหม่
4.2 เพื่อจัดสรรค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนเชียงใหม่
4.3 เพื่อจัดสวัสดิการและพัฒนาบุคลากร
4.4 เพื่อจัดจ้างบุคลากรที่จำเป็นในกรณีที่บุคลากรไม่เพียงพอ
4.5 เพื่อดำเนินการสงเคราะห์และพัฒนาแก่เด็กที่ประสบปัญหาภายนอกสถานสงเคราะห์ที่อยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ในภาคเหนือ เช่น เด็กขาดสารอาหาร เด็กพิการ เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่คลอดมาจากมารดาที่ติดเชื้อเอดส์ เด็กเร่ร่อน และเด็กที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ เป็นต้น
4.6 ส่งเสริมและพัฒนางานทางด้านวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กด้อยโอกาส
4.7 เพื่อร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ ดำเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์
4.8 ไม่มีวัตถุประสงค์ในการเมือง
หมวดที่ 3
ทุนทรัพย์ ทรัพย์สิน และการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ข้อ 5. ทรัพย์สินของมูลนิธิ มีทุนเริ่มแรกซึ่งรวบรวมได้จากผู้มีจิตศรัทธา เป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) เงินจำนวนนี้ได้แยกฝากประจำ 3 เดือน ไว้ที่ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่ริม คือบัญชีเงินฝากประจำ 3 เดือน เลขที่ 5-15-3-00092-3 ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2537 จำนวนเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ส่วนเงินบริจาคที่ได้รับเพิ่มขึ้นและดอกเบี้ยธนาคารที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 2537 ไม่นับเข้าทุนเริ่มแรกของมูลนิธิ เพราะจะจัดได้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของมูลนิธิต่อไป เมื่อได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว
ข้อ 6. มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้
6.1 เงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
6.2 ทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรม หรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดชอบ
6.3 ดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินอันเป็นทุนของมูลนิธิ
6.4 จากการจัดงานหาทุน
6.5 จากการสนับสนุนขององค์กรภาครัฐ – เอกชน และผู้มีจิตศรัทธาให้ดำเนินงานตามโครงการที่ผู้สนับสนุนเห็นชอบโดยไม่มีข้อผูกพันอื่นใด
ปี พ.ศ. 2557 ได้ เปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ/การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
ดังนี้
หมวดที่ 4
คุณสมบัติ และการพ้นจากการตำแหน่งของกรรมการ
ข้อ 7. กรรมการของมูลนิธิต้องมีคุณสมบัติดังนี้
7.1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
7.2 ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
7.3 ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ข้อ 8. กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
8.1 ถึงคราวออกตามวาระ
8.2 ตายหรือลาออก
8.3 ขาดคุณสมบัติตามตราสารข้อ 7
8.4 เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และคณะกรรมการมูลนิธิมีมติให้ออก โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการมูลนิธิ
หมวดที่ 5
การดำเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 9. มูลนิธินี้ดำเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 15 คน
ข้อ 10. ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการผู้ริเริ่มจัดตั้งมูลนิธิเป็นผู้เลือกคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานมูลนิธิ เลขานุการมูลนิธิ เหรัญญิก และคณะกรรมการอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร
ข้อ 11. วิธีเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิให้ปฏิบัติดังนี้
ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่เลือกตั้งประธานกรรมการมูลนิธิ และกรรมการอื่น ๆ ตามจำนวนที่เห็นสมควรตามข้อบังคับ
ข้อ 12. กรรมการดำเนินงานมูลนิธิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ข้อ 13. เพื่อให้การดำเนินงานของมูลนิธิได้เป็นไปโดยติดต่อกัน เมื่อคณะกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิได้ปฏิบัติหน้าที่มาครบ 2 ปี (ครึ่งหนึ่งของวาระการดำรงตำแหน่ง) ให้มีการจับสลากออกไปหนึ่งในสองของจำนวนกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการดำเนินงานของมูลนิธิครั้งแรก
ข้อ 14. การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิ ให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม
ข้อ 15. กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตามวาระหรือโดยการจับสลากในวาระแรก อาจได้รับเลือกเข้าเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก
ข้อ 16. ถ้าตำแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลง ให้คณะกรรมการมูลนิธิที่เหลืออยู่ตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการมูลนิธิแทนตำแหน่งที่ว่าง กรรมการมูลนิธิผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งซ่อมอยู่ในตำแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน
หมวดที่ 6
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 17. คณะกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและภายใต้ข้อบังคับนี้ ให้มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
17.1 กำหนดนโยบายของมูลนิธิ และดำเนินการตามนโยบายนั้น
17.2 ควบคุมการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ของมูลนิธิ
17.3 เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงิน และบัญชีงบดุล รายได้ – รายจ่าย ต่อกระทรวงมหาดไทย
17.4 ดำเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ และวัตถุประสงค์ของข้อบังคับนี้
17.5 ตราระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของมูลนิธิ
17.6 แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อดำเนินการเฉพาะอย่างมูลนิธิ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ
17.7 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิหรือบุคคลที่ทำประโยชน์ให้มูลนิธิเป็นพิเศษ เป็นกรรมการกิตติมศักดิ์
17.8 เชิญผู้ทรงเกียรติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ
17.9 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ
17.10 แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจำของมูลนิธิ มติให้ดำเนินการตามข้อ 17.7 17.8 และ 17.9 ต้องเป็นมติเสียงข้างมากของที่ประชุม และที่ปรึกษาตามข้อ 17.9 ย่อมเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิที่เชิญเท่านั้น
ข้อ 18. ประธานกรรมการมูลนิธิมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
18.1 เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
18.2 สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
18.3 เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก แบะในการทำนิติกรรมใด ๆ ของมูลนิธิ หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ตราสาร และสรรรพหนังสือ อันเป็นหลักฐานของมูลนิธิ และในการอรรถคดีนั้น เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทน หรือกรรมการมูลนิธิ 2 คน ได้ลงรายมือชื่อแล้วอันเป็นใช้ได้
18.4 ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 19. ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทำหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทำการแทน
ข้อ 20. ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมคราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมคราวนั้น
ข้อ 21. เลขานุการมูลนิธิมีหน้าที่ควบคุมกิจการ และดำเนินการประชุมของมูลนิธิ ติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคำสั่งของประธานกรรมการมูลนิธิและทำรายงานการประชุม ตลอดจนรายงานกิจการของมูลนิธิ
ข้อ 22. เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินมีค่าของมูลนิธิ ตลอดจนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง และเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
ข้อ 23. สำหรับกรรมการตำแหน่งอื่น ๆ ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด โดยทำเป็นคำสั่งระบุอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน
ข้อ 24. คณะกรรมการมูลนิธิมีสิทธิเข้าร่วมประชุมกรรมการ หรืออนุกรรมการอื่น ๆ ของมูลนิธิได้
หมวดที่ 7
อนุกรรมการ
ข้อ 25. คณะกรรมการมูลนิธิอาจแต่งตั้งหรือถอดถอนอนุกรรมการได้ตามความเหมาะสมโดยจะแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการประจำ หรือเพื่อการใดเป็นพิเศษเฉพาะคราวก็ได้ และในกรณีที่คณะกรรมการมูลนิธิไม่ได้แต่งตั้งประธานอนุกรรมการ เลขานุการหรืออนุกรรมการในตำแหน่งอื่นไว้ก็ให้อนุกรรมการและคณะแต่งตั้งกันเองดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้
ข้อ 26. อนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งจนหาว่าจะเสร็จงานที่ได้รับหมอบหมายให้กระทำ ส่วนคณะอนุกรรมการประจำอยู่ในตำแหน่งตามเวลาที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด ซึ่งถ้ามิได้กำหนดไว้ ก็ให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง และอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
26.1 นุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
26.2 อนุกรรมการมีหน้าที่เสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการมูลนิธิเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
หมวดที่ 8
การะประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 27. คณะกรมการมูลนิธิจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญประจำปีทุก ๆ ปี ภายในเดือนและต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์กรประชุม
ข้อ 28. การประชุมวิสามัญอาจมีได้ในเมื่อประธานกรรมการมูลนิธิ หรือเมื่อคณะกรรมการมูลนิธิ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แสดงความประสงค์ไปยังประธานกรมการมูลนิธิ หรือผู้ทำการแทน ขอให้มีการประชุมก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้
ข้อ 29. กำหนดการประชุมและองค์ประชุมของคณะกรรมการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนดไว้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประชุม ให้คณะอนุกรรมการตกลงกันเองและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดการประชุม ให้คณะอนุกรรมการตกลงกันเองและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์ประชุมให้ใช้ ข้อ 27 บังคับอนุโลม
ข้อ 30. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการ หากมิได้มีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นมติของที่ประชุมให้ถือเอาคะแนนเสียงข้างมาก ให้กรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด กิจการใดที่เป็นงานประจำหรือเป็นกิจการเล็กน้อย ประธานกรรมการมูลนิธิ มีอำนาจให้ใช้วิธีสอบถามมติทางหนังสือแทนการเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ แต่ประธานกรรมการมูลนิธิต้องรายงานต่อที่ประชุม คณะกรรมการมูลนิธิในคราวต่อไปถึงมติและกิจการที่ได้ดำเนินการไปตามมตินั้น กิจการใดเป็นงานประจำ หรือเป็นกิจการเล็กน้อยหรือไม่ย่อมอยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 31. ในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิหรือคณะอนุกรรมการประธานกรรมการมูลนิธิหรือประธานที่ประชุมมีอำนาจเชิญหรืออนุญาตให้บุคคลที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุมในฐานะแขกผู้มีเกียรติ หรือผู้สังเกตการณ์ หรือเพื่อชี้แจง หรือเพื่อให้คำปรึกษาแก่ที่ประชุมได้
หมวดที่ 9
การเงิน
ข้อ 32. ประธานกรรมการมูลนิธิ หรือรองประธานกรรมการมูลนิธิในกรณีทำหน้าที่แทน มีอำนาจสั่งจ่ายเงินได้คราวละไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนดังกล่าว ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมาก เว้นแต่กรณีจำเป็นและเร่งด่วนให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการมูลนิธิที่จะอนุมัติให้จ่ายได้ และต้องรายงานให้คณะกรรมการมูลนิธิทราบในการประชุมคราวต่อไป
ข้อ 33. เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดได้ครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
ข้อ 34. เงินสดของมูลนิธิหรือเอกสารสิทธิ ต้องนำฝากไว้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นใดที่รัฐบาลให้การค้ำประกัน แล้วแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร
ข้อ 35. การสั่งจ่ายเงินโดยเช็คหรือตั๋วสั่งจ่ายเงิน จะต้องมีลายมือชื่อของประธานกรรมการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทน กับเลขานุการหรือเหรัญญิกลงนามทุกครั้ง จึงจะเบิกจ่ายได้
ข้อ 36. ในการใช้จ่ายเงินของมูลนิธิ ให้จ่ายเพียงดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นทุนของมูลนิธิ และเงินที่ผู้บริจาคมิได้แสดงเจตนาให้เป็นเงินสมทบทุนโดยเฉพาะ
ข้อ 37. ให้คณะกรรมการมูลนิธิ วางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และทรัพย์สินของมูลนิธิ ตลอดจนกำหนดอำนาจหน้าที ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
ข้อ 38. ให้มีผู้สอบบัญชีของมูลนิธิ ซึ่งคณะกรรมการมูลนิธิเห็นชอบและแต่งตั้งจากบุคคลที่มิใช่กรรมการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของมูลนิธิ โดยจะให้ดำรงตำแหน่งกิตติมศักดิ์ หรือได้รับค่าตอบแทนอย่างไรสุดแต่ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
ข้อ 39. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบบัญชีของมูลนิธิ และรับรองบัญชีงบดุลประจำปีที่คณะกรรมการมูลนิธิจะต้องรายงานต่อกระทรวงมหาดไทย ผู้สอบบัญชีมีสิทธิตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนสอบถามกรรมการมูลนิธิในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การบัญชี และเอกสารดังกล่าวได้
หมวดที่ 10
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
ข้อ 40. การแก้ไขเพิ่มเติมตราสารจะกระทำได้โดยเฉพาะที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ซึ่งต้องมีกรรมการมูลนิธิเข้าประชุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดและอนุมัติให้แก้ไขหรือเพิ่มเติมตราสารต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่เข้าประชุม
หมวดที่ 11
การเลิกมูลนิธิ
ข้อ 41. ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไปโดยมติของคณะกรรมการหรือโดยเหตุผลใดก็ตาม ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่กรรมประชาสงเคราะห์ ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกำหนด
ข้อ 42. การสิ้นสุดของมูลนิธินั้นนอกจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ ให้มูลนิธิเป็นอันสิ้นสุดลงโดยมิต้องให้ศาลสั่งเลิกด้วยเหตุต่อไปนี้
42.1 เมื่อมูลนิธิได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้วไม่ได้รับทรัพย์ตามคำสั่นเต็มจำนวน
42.2 เมื่อกรรมการมูลนิธิจำนวนสองในสามมีมติให้ยกเลิก
42.3 เมื่อมูลนิธิไม่อาจหากรรมการได้ครบตามจำนวนกรรมการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
42.4 เมื่อมูลนิธิไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ว่าด้ายเหตุใด ๆ
หมวดที่ 12
บทเบ็ดเตล็ด
ข้อ 43. การตีความในข้อบังคับของมูลนิธิ หากเป็นที่สงสัย ให้คณะกรรมการมูลนิธิโดยเสียงข้างมากของจำนวนกรรมการที่มีอยู่เป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ 44. ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิมาใช้บังคับ ในเมื่อตรวจข้อบังคับของมูลนิธิได้กำหนดไว้
ข้อ 45. มูลนิธิจะต้องไม่กระทำการกำไร และจะต้องไม่ดำเนินการนอกเหนือไปจากข้อบังคับที่กำหนดไว้
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด/การเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ/การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ
ใบสำคัญฉบับนี้ออกให้เพื่อแสดงว่ามูลนิธิลูกแก้วล้านนา สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๖๓/๓ หมู่ที่ ๔ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิลูกแก้วล้านนา โดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้วดังต่อไปนี้
ข้อ ๔. วัตถุประสงค์ของมูลนิธินี้คือ
๔.๑ สนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสถานสงเคราะห์เด็กบ้านเวียงพิงค์ สำหรับเด็กในความอุปการะที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง ๒๔ ปี
๔.๒ สนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายให้กับเด็กในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ที่พ้นการอุปการะไปแล้ว เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้
๔.๓ เพื่อจัดสวัสดิการและพัฒนาบุคลากร
๔.๔ เพื่อจัดจ้างบุคลากรที่จำเป็นในกรณีที่บุคลากรไม่เพียงพอ
๔.๕ เพื่อดำเนินการสงเคราะห์และพัฒนาแก่เด็กที่ประสบปัญหาภายนอกสถานสงเคราะห์ที่ตามชุมชนต่าง ๆ ในภาคเหนือ เช่น เด็กขาดสารอาหาร เด็กพิการ เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่คลอดมาจากมารดาที่ติดเชื้อเอดส์ เด็กเร่ร่อน และเด็กที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์ เป็นต้น
๔.๖ ส่งเสริมและพัฒนางานทางด้านวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กด้อยโอกาส
๔.๗ เพื่อร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ ดำเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์
๔.๘ ไม่มีวัตถุประสงค์ในการเมือง
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
รายนามคณะกรรมการมูลนิธิลูกแก้วล้านนา
ลำดับ |
ชื่อ – สกุล |
ลายเซ็น |
ตำแหน่ง |
๑ |
นายภูศักดิ์ ธรรมศาล |
|
ประธานกรรมการ |
๒ |
นางธรณี พหลโยธิน |
|
รองประธานกรรมการ |
๓ |
นางมยุรี ยกตรี |
|
รองประธานกรรมการ |
๔ |
นางสุรีย์พร ชูสุข |
|
กรรมการและเลขานุการ |
๕ |
นางจิตรา ศรีแก้ว |
|
กรรมการ |
๖ |
นางอัชฌา ศรีเปารยะ |
|
กรรมการ |
๗ |
นางสาวประไพ ยวงเงิน |
|
กรรมการ |
๘ |
นางสาวกนกพร แสวงธรรม |
|
กรรมการ |
๙ |
นางอรพรรณ บุญมาลัย |
|
กรรมการ |
๑๐ |
นางสาวสิรวัศยา คันธี |
|
ผู้ช่วยเลขานุการ |
๑๑ |
นางญาณิพัชญ์ จันทน์ผา |
|
ผู้ช่วยเหรัญญิก |
๑๒ |
นางนพพร เลิศลักขณาวัฒน์ |
|
กรรมการและเหรัญญิก |